Microsoft พบว่าแฮกเกอร์ได้ขโมย Source Code จากโจรกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อสิ้นปี 2020

Microsoft

Microsoft จากการโจรกรรมทางไซเบอร์ครั้งยิ่งใหญ่เมื่อช่วงเดือนธันวาคมของปี 2020 ที่มีองค์กรภาครัฐและเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นได้พบว่า เป็นการเจาะเข้าระบบจัดการเครือข่ายของ Solarwind บริษัทผู้ให้บริการบริหารจัดการระบบเครือข่ายกับองค์กรต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงMicrosoft  ซึ่งการโจรกรรมทางไซเบอร์ดังกล่าวนั้นไม่มีการโจรกรรมข้อมูลสำคัญขององค์กรต่างๆ แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเพิ่มเติมของMicrosoft ทำให้พบว่าการโจรกรรมครั้งดังกล่าวกลับมีการเข้าถึง Source Code ของการให้บริการต่างๆ ของMicrosoft แทน

Microsoft

การโจมตีทางไซเบอร์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการของ Microsoft

โดยการตรวจสอบนั้นพบว่ามีความผิดปกติของบัญชีผู้ใช้งานจำนวนหนึ่ง ที่พบว่ามีการใช้บัญชีเพื่อพยายามเข้าถึงSource Code ต่างๆ ของMicrosoft แต่อย่างไรก็ตามบัญชีดังกล่าวไม่มีสิทธิแก้ไขSource Code ต่างๆ ในระบบงานของMicrosoft ซึ่งบัญชีดังกล่าวได้รับการตรวจสอบและแก้ไขสิทธิการเข้าใช้งานเรียบร้อยแล้ว โดยการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ Microsoftได้ทำการสมมติว่าการโจรกรรมนั้นสามารถเข้าถึงSource Codeของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเริ่มทำการแก้ไขจนสามารถป้องกันการเข้าถึงSource Code ได้ ทั้งนี้บริษัทได้สร้างระบบความปลอดภัยให้กับSource Code มากกว่า 1 ชั้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและมั่นใจให้กับบริการต่างๆ ของMicrosoft จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคตด้วยเช่นกัน

Microsoft พบว่าแฮกเกอร์ได้ขโมย Source Code

ทั้งนี้แล้วผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อธิบายเพิ่มเติมว่าการโจรกรรมทางไซเบอร์ในครั้งนี้ มีความซับซ้อนและมีแหล่งข้อมูลที่มากพอ ที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการก่อเหตุโจรกรรมทางไซเบอร์ เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นความลับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมว่าSource Code โดยทั่วไปจะหมายถึง คำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่เขียนโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อประกอบขึ้นมาเป็นแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ทั้งในการทำงาน และด้านอื่นๆ

Microsoft โจรกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อสิ้นปี 2020

ในขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงแหล่งชาติ  ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของUniversity of Notre Dameได้อธิบายว่าการโจมตีในครั้งนี้มีความต้องการเข้าถึงช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของMicrosoft ที่ทำให้บรรดาแฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการโจรกรรมที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ความเสียหายจำนวนมากที่อาจจะเกิดขึ้นหากสิ่งที่ถูกโจรกรรมไปนั้นอยู่ในความครอบครองของมิจฉาชีพทั้งหลาย

 ทั้งหมดก็เป็น  ข่าวไอทีคอมพิวเตอร์ และข้อมูลดี ๆ เกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ Microsoft พร้อมนำบริการ สตรีมมิ่งเกม Xbox ไปลงใน AppStore ของ iPhone แล้ว

ถ้าหากว่างหลังจากศึกษาข้อมูลข่าวไอทีคอมพิวเตอร์ แอดยังมีสิ่งดี ๆ มาแนะนำ  สล็อตโจ๊กเกอร์168  ไว้เล่นแบบเพลิน ๆ

Continue Reading

Microsoft พร้อมนำบริการ สตรีมมิ่งเกม Xbox ไปลงใน AppStore ของ iPhone แล้ว

Microsoft

Microsoft วางแผนนำบริการสตรีมเกม Xbox ไปลงใน AppStore ของ iPhone ในปี 2021 ผ่านบริการสตรีมมิ่ง Game Pass ที่เปิดตัวสำหรับโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยMicrosoft กำลังพัฒนาเวอร์ชั่นบนเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้งานได้กับ iPhone ซึ่งจะเป็นบริการสตรีมมิ่งที่ทำงานโดยใช้อินเทอร์เฟชของเกมมาให้เลือก ดังนั้นการเลือกเกมหนึ่งเกมจะเป็นไปอย่างราบรื่น โดยสมมติว่าผู้ใช้มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ดีเพียงพอสำหรับการสตรีมข้อมูลจำนวนมากที่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตาม Microsoftจะต้องส่งเกมทั้งหมดใน Xbox ให้ทาง Apple ตรวจสอบก่อนที่จะวางขายใน AppStore ได้

Microsoft

Microsoft จะส่งเกมทั้งหมดใน Xbox ให้ทาง Apple ตรวจสอบก่อนที่จะวางขายใน AppStore ได้

กฎการตรวจสอบของ AppStore อาจจะยังไม่เหมาะสมกับ Xbox ของMicrosoft สักเท่าไร เนื่องจากMicrosoft มีแผนที่จะเพิ่มและลบเกมในบริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอาจจะไม่ราบรื่นสักเท่าไรที่Microsoft จะนำบริกาสตรีมมิ่งเกม Xbox ไปไว้ใน iOS ของ Apple

แต่อย่างไรก็ตาม Apple ได้ออกหลักเกณฑ์มาใหม่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเปิดอินเตอร์เน็ตและแอพเว็บเบราวเซอร์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการสตรีมเกม โดย Apple ได้ชี้แจงกฎดังกล่าวสำหรับMicrosoft และแอพ สตรีมมิ่งอื่น ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว

 Xbox ลงไป AppStore

โดยมีการคาดการณ์ว่าMicrosoft น่าจะเลือกใช้การเปิดอินเตอร์เน็ตและแอพเว็บเบราเซอร์สำหรับการลงสตรีมมิ่งเกม เหมือนกับแอพพลิเคชั่นเกมบนคลาวด์อื่น ๆ ที่ใช้ช่องทางดังกล่าว อย่างเช่น Google Stadia ก็มีตัวเลือกบนเว็บเบราว์เซอร์สำหรับตลาดเกมพีซีและมีการค้นพบวิธีที่จะทำให้ Google Stadia สามารถทำงานบน iOS ผ่านแอพที่เป็นเว็บเบราว์เซอร์ได้

ซึ่ง Amazon ก็ได้ประกาศเช่นกันว่าบริการสตรีมเกม Luna จะทำงานบน iPhone และ iPad ผ่านแอพเบราว์เซอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้แอพเบราว์เซอร์ของบริการสตรีมเกมนั้นเป็นการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์ของ App Store ที่กำหนดให้ต้องสมัครสมาชิกเกม และยังต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม 30% ให้กับ Apple สำหรับผู้ใช้ที่สมัครผ่านหน้าร้าน AppStore

สตรีมมิ่งเกมไปลงใน AppStore

แต่อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นที่พร้อมกับเครื่องนั้นเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องผู้ใช้งานจะได้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพจากฟังก์ชั่นต่างของเครื่องเล่นเกม ดังนั้นการออกแบบเว็บเบราว์เซอร์ที่ทันสมัยจึงหมายความว่าแอพเบราว์เซอร์สามารถมีรูปลักษณ์บางอย่างของแอพพลิเคชั่นที่เป็นของจริง

ติดตามข่าวสารอีกมากมายของเราได้ที่ ข่าวไอทีคอมพิวเตอร์ ได้ที่นี่ และ ถ้าโลกไม่มีแสงอาทิตย์ แล้วชีวิตเราบนโลกจะเป็นอย่างไร กับแนวการศึกษาที่น่าสนใจ

Continue Reading